- ทางเลือกในการเรียนต่อทางรังสีวิทยา
- ทำไมถึงจะเรียนรังสีวิทยา
- เรียนต่อ Resident เมืองไทย หรือ อเมริกา?
- เรียนต่อ Clinical Fellow, Research Fellow หรือ Observer?
- การเตรียมตัวเพื่อเรียนต่อรังสีวิทยาในสหรัฐอเมริกา
- ตัดสินใจ และเตรียมพร้อม
- USMLE
- การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อรังสีิวิทยาในสหรัฐอเมริกา
- การสอบสัมภาษณ์และประกาศผล
- การเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียนหลังจากได้รับการตอบรับแล้ว
- ชีวิตการเรียนในอเมริกา
- ชีวิตส่วนตัวในอเมริกา
- แนะนำรุ่นพี่ตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ
- พยายามแล้วไม่สำเร็จ ทำยังไง
ปัจจัยสำคัญที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นในการตัดสินใจเลือกก็มีคร่าวๆ ดังนี้นะครับ
1. ความเป็นไปได้
2. เวลา
3. เงิน
4. ครอบครัว
ความเป็นไปได้ (Residency)
การเรียน radiology resident ในเมืองไทยนั้นก็มีทางเลือกอยู่พอประมาณนะครับ ไม่ว่าจะเป็นที่จุฬาฯ, ศิริราช, รามาฯ, เชียงใหม่ หรือสงขลาฯ แต่ละที่ก็รับ resident ในจำนวนต่างๆ กัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง และหลายๆ คนก็คิดเป็นอันดับต้นๆ ก็คือว่าเราจำเป็นต้องมี "ต้นสังกัด" หรือเปล่า
ถ้าถามความเป็นไปได้ว่าผู้ที่มีต้นสังกัด กับผู้ที่ไม่มีต้นสังกัด ถ้าคุณสมบัติอื่นเท่ากัน ภาควิชา (ส่วนมาก) คงเลือกคนที่มีต้นสังกัดครับ สาเหตุคงเนื่องมาจากว่า คณะไม่ต้องจ่ายเงินเดือนให้ผู้ที่มีต้นสังกัด (ถือว่าได้จากสังกัดแล้ว) และเป็นการสนับสนุนการกระจายกำลังแพทย์ไปยังที่อื่นๆที่ขาดแคลน นะครับ แต่ยังไงก็ตาม มักจะมี quota สำหรับผู้ไม่มีต้นสังกัดอยู่ด้วยเสมอ เนื่องจากคณะฯ เองก็มีความต้องการรังสีแพทย์จบใหม่ มาบรรจุเป็นอาจารย์แพทย์ด้วยเช่นกันครับ โดยรวม ถ้าคุณสมบัติดีพร้อม ถึงไม่มีต้นสังกัดก็ยังมีโอกาสเข้าเรียนต่อ Radiology Resident ในเมืองไทยได้ครับ
การเลือกสถานที่เรียน หลายๆ คนคงเลือกตามความคุ้นเคยนะครับ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าไม่มีความแตกต่างกันมาก ระหว่างแต่ละโรงเรียนแพทย์ในบ้านเรา อาจมีบ้างในแง่ของ แนวทางการปฏิบัติงาน ปริมาณของ advanced studies และการเรียนการสอนที่เป็น didactic ครับ ปัจจัยเรื่องการอยู่เวรก็ควรเอามาพิจารณาเช่นกันครับ ก่อนตัดสินใจเลือกที่เรียน
แล้วถ้าอยากไปเรียนที่อเมริกา เป็นไปได้รึเปล่า? เป็นไปได้ครับ มีเพื่อนและรุ่นพี่เราหลายๆ คนเป็นตัวอย่างมาแล้ว ถึงแม้ส่วนหนึ่งในปัจจุบันจะทำงานเป็น Radiologist ทีสหรัฐอเมริกา (ไม่กลับเมืองไทย) แต่หลายๆ คนก็ยินดีให้คำปรึกษากับรุ่นน้องเสมอครับ ข้อสำคัญคือต้องมีความพยายามและตั้งใจจริง เนื่องจากการเข้าเรียน Radiology ในอเมริกานั้นยาก แม้กระทั่งสำหรับคนอเมริกันเอง. Radiology ติดอันดับสาขาที่นักศึกษาแพทย์ในอเมริกา แย่งกันเรียนมากที่สุดนะครับ เหตุผลประกอบด้วยหลายปัจจัยครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า การวินิจฉัยรักษาแบบ noninvasive ซึ่งเป็นแนวโน้มของการแพทย์ยุคใหม่ lifestyle ของรังสีแพทย์ และรายรับ ครับ
เหตุข้างต้นทำให้การเข้าเรียน Radiology Resident ในอเมริกานั้นยากสำหรับคนต่างชาติครับ แต่ก็ยังมีคนไทย และคนชาติอื่นๆ เข้ามาเรียนอยู่เรื่อยๆ ครับ สิ่งสำคัญคือ คะแนนสอบและ recommendation letters ครับ หลายๆ คนเข้ามาเป็น Research Fellow ก่อนและสมัครเข้าเป็น resident ก็มีโอกาสสูงกว่าคนที่ไม่เป็นที่รู้จักของคนที่นี่ครับ
บทความชุดนี้ ผมขอมอบให้กับคนหลายคนที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้ผมมาได้จนถึงจุดที่อยู่ปัจจุบันครับ พ่อแม่ น้อง ที่สนับสนุนทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทอง เวลา และกำลังใจ. อ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.จามรี เชื้อเพชรโสภณ รุ่นพี่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งทางวิชาการและการบริหารจัดการ. อ.วิทย์ วราวิทย์, อ.ชีวรัตน์ วิโรจน์ธนุกูล, พี่นัศวดี เพียงเจษฎา, บัณฑิต ตันติวงโกสีย์ ที่เป็นผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ตอนเริ่มคิด สอบ และส่งแรงให้ผมได้มาอยู่ตรงนี้
2 comments:
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
ดีมากๆครับ
Post a Comment