Bowing legs หรือภาวะขาโก่ง เป็นปัญหาที่เจอได้ในเด็กเล็ก บทบาทของแพทย์และรังสีแพทย์คือต้องแ์ยกว่าเป็น physiologic หรือ pathologic bowing เราสามารถแยกภาวะขาโก่งที่เห็นจากฟิล์มเอกซเรย์ได้ 2 แบบคือ anterolateral bowing ซึ่งพบได้บ่อยกว่า และ posteromedial bowing
1. Anterolateral bowing สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้แก่ physiologic bowing, tibia vara หรือ Blount disease, camptomelic dwarfism, osteogenesis imperfect, rickets และ achodroplasia
ในที่นี้จะขอกล่าวถึง physiologic bowing และ Blount disease ซึ่งพบได้บ่อย
- Physiologic bowing : หรือ developmental bowing เชื่อว่าเกิดจาก uterine molding และจะเริ่ม correction เมื่อหัดเดิน ดังนั้นจะพบภาวะนี้ไม่เกินอายุ 18-24 เดือน สามารถพบ metaphyseal beaking ได้ตรง proximal tibia
- Blount disease : เชื่อว่าเกิดจาก stress บริเวณ posteromedial proximal tibial physis ทำให้epiphysis ด้านในชะงักการเติบโต เราจึงเห็นความไม่เท่ากันของ physis ด้าน lateral และด้าน medial เกิดเป็น varus
angulation หรือ tibia vara (รูปที่1)
(รูปที่1) (รูปที่2 ที่มา From :Radiographics 2003; 23:871-880 )
เราจะแยก physiologic bowing ออกจาก Blount disease อย่างไร
ประการแรก physiologic bowing มักเป็น bilateral และ asymmetrical สำหรับ Blount disease มักเป็น unilateral และ asymmetrical
ประการที่สอง ใช้การวัด metaphyseal-diaphyseal angle ซึ่งคือมุมระหว่างเส้นที่ลากขนานกับ proximal metaphysis ของ tibia และเส้นที่ลากตั้งฉากกับแนวขนานของ tibia diaphysis หากมุมที่ได้มากกว่า 11 องศา ให้นึกถึง Blount disease (รูปที่2)
2. Posteromedial bowing หรือ congenital bowing พบได้ไม่บ่อย เชื่อว่าเกิดจาก abnormal intrauterine position หรือ fetal vascular insufficiency กระดูก Fibula ก็โค้งงอด้วยเช่นกัน ส่วนมาก good prognosis มักหายได้เอง ผ่าตัดเมื่อมีภาวะ leg length discrepancy (รูปที่3 และรูปที่4)
(รูปที่3) (รูปที่4)
ที่มา : Cheema JI, Grissom LE, Theodore Harcke HT, MD. Radiographics 2003; 23:871-880.
June 4, 2008
Bowing Legs in Children
Posted by
Supika Kritsaneepaiboon, M.D.
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment