เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าทางเลือกหนึ่งในการวินิจฉัย acute appendicitis คือการทำ imaging study นะครับ บทบาทของ imaging study จะอยู่ที่การช่วย diagnosis, exclude acute appendicitis และการให้ alternative diagnosis
Clinical exam มีข้อจำกัด*
- Underdiagnosis: ประมาณ 20% rate of missed appendicitis
- Over diagnosis: 15%-40% false positive appendectomy
จะทำ ultrasound หรือ CT ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็น acute appendicitis?
น่าจะทำ Ultrasound ถ้า
- ผู้ป่วยเป็นเด็ก (radiation exposure)
- ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ (alternative gynecologic diagnosis, radiation exposure)
- ผู้ป่วยเป็นหญิงตั้งครรภ์ (radiation exposure)
- ผู้ป่วยผอม (easier to scan)
- รังสีแพทย์มีประสบการณ์ในการทำอัลตราซาวด์ appendix
น่าจะทำ CT ถ้า
- ผู้ป่วยอายุมาก (alternative diagnosis)
- ผู้ป่วยอ้วน
- อาการปวดท้องไม่ชัดเจนหรือปวดทั่วๆ (alternative diagnosis)
- มีความพร้อมด้านเครื่องมือและเทคนิกในการตรวจ appendiceal CT
เปรียบเทียบ Appendiceal ultrasound กับ CT
Ultrasound sensitivity 86%, specificity 81%**
CT sensitivity 94%, specificity 95%**
* N Engl J Med 1998;338:141
** Ann Intern Med 2004;141:537
Above images from GE Healthcare and Seimens Medical Solutions websites
April 19, 2008
Suspected Acute Appendicitis (3) - When and Why Doing Imaging Studies?
Posted by
Rathachai Kaewlai, M.D.
Labels:
Abdomen,
CT,
Emergency,
Gastrointestinal
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment