April 25, 2008

Postcatheterization Pseudoaneurysm - Thrombin Injection

คราวก่อน กล่าวถึงเรื่องการวินิจฉัย PSA ไปแล้วนะครับ ครั้งนี้ขอยืมภาพจากครั้งก่อน (ภาพแรก) มาให้ดูกันอีกทีครับ PSA มีลักษณะของ Yin-Yang sign ใน​ color Doppler ultrasound ดังที่เห็นครับ สิ่งสำคัญที่ต้องหาคือ neck ของ PSA ว่าแคบ กว้างแค่ไหน, ขนาดของ PSA เท่าไร เพื่อจะได้ประเมินว่าควรจะรักษาด้วย percutaneous technique หรือ open surgery

เมื่อใดควรรักษาด้วย Open Surgery?
1. PSA ขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิด skin necrosis, compression of nerves or blood vessels
2. Neck of PSA กว้าง (เสี่ยงต่อการเกิด distal embolization เวลาทำ thrombin injection)
3. PSA จากสาเหตุอื่นๆที่ไม่ใช่ postcatheterization


ภาพที่สองแสดงให้เห็นหลังจากการฉีด Thrombin เข้าไปในตัว PSA ผ่านทาง needle. PSA completely thrombosed.

สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่าเข็มอยู่ในตัว PSA ไม่ใช่ native vessel และต้องตรวจดูหลังจากทำเสร็จว่ามี flow ใน native artery and vein (โดยทั่วไปจะเห็นว่า flow ไปที่ CFA ชัดเจนมากขึ้นเนื่องจากไม่มี diversion ไปที่ PSA แล้ว) (ดังภาพที่ 3)

ต้องนำผู้ป่วยมาตรวจอัลตราซาวด์ซ้ำที่ 24-72 ชั่วโมงหลังเสร็จ procedure เพื่อให้มั่นใจว่า PSA thrombosed ไปหมดแล้วจริง

Facts: - Thrombin is not FDA-approved for intravenous injection (keep in mind). - Worst complication is distal embolization of clot - Primary success rate reported between 91% - 100%

Reference: Webber GW, et al. Circulation 2007;115:2666-2674.

ผู้เขียนขออุทิศทุกบทความเกี่ยวกับ percutaneous radiological procedures ในบล้อกนี้ที่เขียนขึ้นโดยตัวผู้เขียนเอง ให้กับ Dr. Kenneth Nazinitsky ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ และให้โอกาสผู้เขียนในการทำ procedure ต่างๆ มากมาย ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ทำงานเป็น clinical fellow ที่ Ohio. Dr. Nazinitsky เสียชีวิตอย่างสงบในเดือนมีนาคม 2551.

1 comment:

Anonymous said...

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ เป็นประโยชน์สำหรับหนูมากมายเลยค่ะ

Post a Comment

ShareThis