July 18, 2008

Radiology Clinical Training in USA (1.3)


  1. ทางเลือกในการเรียนต่อทางรังสีวิทยา
    • ทำไมถึงจะเรียนรังสีวิทยา
    • เรียนต่อ Resident เมืองไทย หรือ อเมริกา?
    • เรียนต่อ Clinical Fellow, Research Fellow หรือ Observer? เมืองไทย หรือ อเมริกา?
  2. การเตรียมตัวเพื่อเรียนต่อรังสีวิทยาในสหรัฐอเมริกา
    • ตัดสินใจ และเตรียมพร้อม
    • USMLE
  3. การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อรังสีิวิทยาในสหรัฐอเมริกา
  4. การสอบสัมภาษณ์และประกาศผล
  5. การเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียนหลังจากได้รับการตอบรับแล้ว
    • ชีวิตการเรียนในอเมริกา
    • ชีวิตส่วนตัวในอเมริกา
  6. แนะนำรุ่นพี่ตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ
  7. พยายามแล้วไม่สำเร็จ ทำยังไง

ความเป็นไปได้ (Clinical Fellowship)
ในบ้านเราก็มีการเปิด training สำหรับ clinical fellowship ที่เป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ครับ ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับวงการรังสีิวิทยาครับ เนื่องจากจะเปิดโอกาสทางเลือกให้กับรังสีแพทย์ที่จบใหม่ ให้ไม่จำกัดอยู่ที่การออกไปทำงานเท่านั้นครับ คงไม่ลืมนะครับว่าการมีอยู่ของวิชารังสีวิทยานั้น ขึ้นกับการทำ subspecialty โดยเฉพาะในสถาบันขนาดใหญ่ การเรียน subspecialty มีบทบาทมากต่อการพัฒนาวิชาชีพแนวลึกครับ ในแง่ของรังสีวิทยาก็ยังหมายถึงการตามให้ทันโลกของ clinician ด้วยนะครับ ถ้า clinician ทำงานแบบ specialty หรือ subspecialty ก็มีความจำเป็นที่พวกเราต้องทำในรูปแบบเดียวกันครับ

อีกทางเลือกหนึ่ง
สำหรับ Radiology resident ที่ใกล้จบ หรือจบแล้วจากบ้านเรา ที่อเมริกาเปิดโอกาสให้ผู้ที่มี Radiology board จากต่างประเทศเข้ามาเรียนต่อ Clinical Fellow ได้ด้วยครับ สาเหตุก็เนื่องมาจากว่าปริมาณของ US resident ที่เรียนต่อ Fellowship นั้นไม่สูงมากครับ ทำให้มีตำแหน่งว่างที่จะรับคนต่างชาติเข้ามาเรียนได้ ความยากง่าย ก็ขึ้นกับสาขาวิชาและสถานที่เรียนครับ โดยมากปัจจัยที่มีผลต่อความยากง่ายก็คือปริมาณความสนใจของ US resident ต่อสาขานั้นๆ ครับ ถ้าเป็นสาขาที่แม้กระทั่ง US resident ยังแย่งกันเรียน ก็จะเข้ายากหน่อยครับ สาขาพวกนี้เปลี่ยนไปทุกปีครับ บอกล่วงหน้าไม่ค่อยได้

ทางเลือกถ้าอยากไปเรียนต่อ fellowship ที่อเมริกา
มีหลายแบบนะครับ ไม่ว่าจะเป็น Clinical Fellowship, Research Fellowship หรือ Observer-ship (visitor) แต่ละอย่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไปครับ

Observer-ship หรือ visitor ก็คือการมาดูงานนั่นเองครับ บทบาทหน้าที่ก็คือต้องรับผิดชอบต่อตนเอง มาสังเกตการปฏิบัติงานของหมอที่นี่นะครับ และก็มีโอกาสเข้า morning/noon conference ต่างๆ ด้วยครับ ถ้ามีผู้มาดูงานไม่มากนักก็อาจมีโอกาสได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ จากหมอที่นี่ครับ
ข้อดี - มักได้มาโรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลััยดังๆ ซึ่งมี cutting edge technology ครับ มีโอกาสเห็นอะไรใหม่ แปลก และไม่ต้องเสียเวลาหรือเงินในการเตรียมตัวมากครับ ในบางสถาบันอาจต้องสอบ TOEFL ให้ผ่านตามข้อตกลงก่อนที่สถาบันจะให้ทุนมาดูงานครับ ส่วนใหญ่ก็ไม่ต้องครับ ตอนนี้วิธีนี้ก็แพร่หลายในคณะแพทยศาสตร์ และร.พ.เอกชนขนาดใหญ่ในบ้านเราครับ
ข้อเสีย - ต้องรับผิดชอบต่อตัวเองมาก ให้มาสังเกตการณ์การทำงาน เนื่องจากโปรแกรมส่วนใหญ่ที่นี่มักไม่เช็กชื่อหรือเวลา นะครับ เนื่องจากถือว่าผู้มาก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว และต้องรับผิดชอบตัวเองครับ โอกาสในการเรียนรู้ก็ขึ้นกับตัวเองมากๆ ครับ ถ้าขยันมากก็ได้มาก



บทความชุดนี้ ผมขอมอบให้กับคนหลายคนที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้ผมมาได้จนถึงจุดที่อยู่ปัจจุบันครับ พ่อแม่ น้อง ที่สนับสนุนทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทอง เวลา และกำลังใจ. อ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.จามรี เชื้อเพชรโสภณ รุ่นพี่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งทางวิชาการและการบริหารจัดการ. อ.วิทย์ วราวิทย์, อ.ชีวรัตน์ วิโรจน์ธนุกูล, พี่นัศวดี เพียงเจษฎา, บัณฑิต ตันติวงโกสีย์ ที่เป็นผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ตอนเริ่มคิด สอบ และส่งแรงให้ผมได้มาอยู่ตรงนี้

1 comment:

Anonymous said...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

Post a Comment

ShareThis