August 17, 2008

Radiology Clinical Training in USA (1.4)


  1. ทางเลือกในการเรียนต่อทางรังสีวิทยา
    • ทำไมถึงจะเรียนรังสีวิทยา
    • เรียนต่อ Resident เมืองไทย หรือ อเมริกา?
    • เรียนต่อ Clinical Fellow, Research Fellow หรือ Observer? เมืองไทย หรือ อเมริกา?
  2. การเตรียมตัวเพื่อเรียนต่อรังสีวิทยาในสหรัฐอเมริกา
    • ตัดสินใจ และเตรียมพร้อม
    • USMLE
  3. การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อรังสีิวิทยาในสหรัฐอเมริกา
  4. การสอบสัมภาษณ์และประกาศผล
  5. การเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียนหลังจากได้รับการตอบรับแล้ว
    • ชีวิตการเรียนในอเมริกา
    • ชีวิตส่วนตัวในอเมริกา
  6. แนะนำรุ่นพี่ตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ
  7. พยายามแล้วไม่สำเร็จ ทำยังไง

Research Fellowship เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งในการมาดูงานและปฏิบัติงานที่อเมริกาครับผู้ที่มาจะทำงานวิจัย (เป็นผู้ช่วยวิจัยครับ แต่ไม่ใช่ ผู้ทำวิจัยหลักเนื่องจากจะไม่สามารถเป็น Principal Investigator ได้) ในงานที่ริเริ่มโดยแพทย์ที่นี่ครับ และในหลายๆ ครั้งก็ได้เข้าร่วม clinical conference ด้วยแล้วแต่ความยุ่งของงานวิจัยและความสนใจส่วนตัวครับ
ข้อดี - มีโอกาสเห็นและร่วมงานวิจัย ซึ่งอาจเป็นงานขนาดใหญ่ และก็ได้เก็บผลงานนี้เวลากลับไปทำงานต่อที่เมืองไทยด้วย (โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในคณะแพทย์ฯ) นอกจากนั้นก็มีโอกาสเข้าร่วม conference ต่างๆ ตามเวลาที่ีมีและความสนใจครับ. ส่วนใหญ่ก็มักเป็นที่โรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ครับ ที่เปิดให้มี research fellowship
ข้อเสีย - เวลาที่มีให้กับการเรียนรู้ทางคลินิกจะน้อยกว่าผู้ที่มาเป็น observer เนื่องจากเวลาส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลงานวิจัย

Clinical Fellowship
คือการมาปฏิบัติงานเหมือนกับที่รังสีแพทย์ที่อเมริกาทำงานครับ และได้รับเงินเดือนจากโรงพยาบาลในอเมริกาที่เราทำงานครับ เช่น การอ่านผล imaging การออกตรวจผู้ป่วย (กรณีทำ ultrasound, fluoroscopy หรือ intervention) การพูดคุยกับผู้ป่วย เป็นต้น นอกจากนั้นก็มีโอกาสทำงานวิจัย (ถ้าสนใจ)
ข้อดี - มีโอกาสสัมผัสงาน และได้ปฏิบัติงานจริงเหมือนกับเป็นรังสีแพทย์ครับ ทำให้มีการเรียนรู้โดยตรงครับ ได้ประสบการณ์ตรงทั้งในแง่ของการทำงานและระบบของโรงพยาบาลที่เราทำงาน ได้รู้จักและทำงานกับรังสีแพทย์ที่หลากหลาย ทั้ง resident, fellow และ attending มีโอกาสทำงานวิจัยและเป็น principal investigator
ข้อเสีย - โรงพยาบาลขนาดใหญ่ งานก็ยุ่งตามจำนวนผู้ป่วยครับ หลายๆแห่งต้องอยู่เวรวันหยุด หรือข้ามคืน (ขึ้นกับโปรแกรม). ต้องสอบ USMLE ให้ผ่านทั้งหมด และผ่านกระบวนการแบบเดียวกับ US resident เวลาสมัครเข้าเรียนต่อครับ. บางโปรแกรมอาจต้องสอบข้อสอบของ fellow ด้วยก่อนจะเรียนจบครับ

ถ้าถามความเห็นส่วนตัวและต้องให้คำแนะนำกับผู้ที่กำลังวางแผนจะมา ก็คงต้องบอกว่าผมแนะนำให้มาเป็น Clinical Fellow> Research Fellow> Observer ครับ แต่ทั้งนี้การเลือกมาขึ้นกับหลายปัจจัยนะครับ ทั้งในแง่ของเวลา เงินทอง ครอบครัวและความตั้งใจ ครับ

บทความต่อๆ ไปจะกล่าวถึงกรณีที่สนใจจะมาเป็น Clinical Fellow หรือ Resident นะครับ


บทความชุดนี้ ผมขอมอบให้กับคนหลายคนที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้ผมมาได้จนถึงจุดที่อยู่ปัจจุบันครับ พ่อแม่ น้อง ที่สนับสนุนทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทอง เวลา และกำลังใจ. อ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.จามรี เชื้อเพชรโสภณ รุ่นพี่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งทางวิชาการและการบริหารจัดการ. อ.วิทย์ วราวิทย์, อ.ชีวรัตน์ วิโรจน์ธนุกูล, พี่นัศวดี เพียงเจษฎา, บัณฑิต ตันติวงโกสีย์ ที่เป็นผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ตอนเริ่มคิด สอบ และส่งแรงให้ผมได้มาอยู่ตรงนี้

1 comment:

Rathachai Kaewlai, MD (รัฐชัย) said...

ขอเพ่ิมเติมเล็กน้อย พอดีมีรุ่นน้องถามมาครับ

เวลาของการทำ research fellow กับ observer อาจต่างกันได้ครับ ส่วนมากถ้าเป็น research fellow มักต้องอยู่อย่างน้อย 1 ปี (แล้วแต่ข้อตกลงทีีทำกับ ร.พ. ในอเมริกา) แต่ observer ไม่จำเป็นต้องอยู่นานถึงปีครับ ตรงนี้แล้วแต่ร.พ. ต้นสังกัด (ไทย) ครับ. จะมาเป็น observer โดยไม่ต้องมีต้นสังกัดก็ได้นะครับ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง

Post a Comment

ShareThis