- ทางเลือกในการเรียนต่อทางรังสีวิทยา
- ทำไมถึงจะเรียนรังสีวิทยา
- เรียนต่อ Resident, Clinical Fellow เมืองไทย หรือ อเมริกา?
- การเตรียมตัวเพื่อเรียนต่อรังสีวิทยาในสหรัฐอเมริกา
- ตัดสินใจ และเตรียมพร้อม
- USMLE
- การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อรังสีิวิทยาในสหรัฐอเมริกา
- การสอบสัมภาษณ์และประกาศผล
- การเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียนหลังจากได้รับการตอบรับแล้ว
- ชีวิตการเรียนในอเมริกา
- ชีวิตส่วนตัวในอเมริกา
- แนะนำรุ่นพี่ตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ
- พยายามแล้วไม่สำเร็จ ทำยังไง
คำถามนีี้คงอยู่ในใจหลายๆ คนที่เป็นนักศึกษา/นิสิตแพทย์ที่ใกล้เรียนจบ หรือกระทั่งแพทย์ใช้ทุนนะครับ แต่คงมีหลายๆ คนที่ยังตั้งคำถามนีี้กับตัวเองแม้ว่าจะเป็น resident, fellow หรือว่าเป็นรังสีแพทย์ไปแล้ว ว่าเอ๊ะ ทำไมเราถึงเรียนรังสีวิทยา
เรื่องนี้คงตอบไม่ยาก และไม่ง่ายนะครับ หลายคนคงยอมรับว่าเราไม่รู้ว่าเราชอบ Radiology รึเปล่าตอนเป็นนักศึกษา/นิสิตแพทย์ เพราะว่าหลักสูตรการเรียนรู้ใน 6 ปีไม่เปิดโอกาสให้เราสัมผัส Radiology มากนัก เพราะฉะนั้นความคิด และความประทับใจอาจเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้สัมผัสใน rotation หรือตอนทำงานใช้ทุน
สำหรับนักศึกษา/นิสิตแพทย์
คงจะเป็นการยากนะครับ ที่เราจะรู้ว่าเราจะชอบสาขาวิชาที่เราเลือกเรียนหรือไม่ โดยเฉพาะสาขาที่เราไม่ค่อยได้สัมผัสอย่าง Radiology แต่ขอให้เลือกสาขาที่เรียนจากข้อมูลที่เรามี (ต้องพยายามหาข้อมูลให้มากเข้าไว้ จากแหล่งที่เชื่อถือได้) และเหมาะกับ lifestyle ที่เราชอบ ผมบอกได้ว่า Radiology เป็นสาขาที่มีอนาคตอีกยาวไกล เนื่องจากมีการพัฒนาเทคนิกใหม่ๆ มาตลอดไม่ว่าจะเป็นเพื่อการวินิจฉัยโรค หรือรักษาโรคแบบ noninvasive สาขานี้ไม่ได้สัมผัสคนไข้น้อยไปกว่าสาขาอื่น ถ้ามองไปที่รังสีแพทย์ที่ทำงานด้าน interventional radiology ก็ทำงานร่วมกับพยาบาล เทคนิเชี่ยน และได้เจอคนไข้ การตรวจอัลตราซาวด์ก็เป็น patient interaction ชนิดหนึ่ง และรังสีแพทย์ที่ดีก็ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคนออก report เท่านั้นครับ เรามีบทบาทเป็นที่ปรึกษากับแพทย์สาขาอื่น เราช่วยให้การดูแลคนไข้รวดเร็วขึ้นและดีขึ้นได้ครับ
สำหรับผู้ที่เรียนรังสีวิทยาอยู่แล้ว
มีหลายๆ คนอาจกำลังคิดว่าเราตัดสินใจถูกรึเปล่าที่มาเรียนวิชานี้ บางคนสงสัยว่าเราอยากตรวจคนไข้มากกว่านี้ เราอยากสั่งยา เราอยากเป็นมากกว่าคนรับใบ request แล้วต้องทำตามที่คนอื่นบอก (สั่ง) มา. ผมอยากฝากเอาไว้ว่าเราเลือกได้นะครับ เราเลือกที่จะเป็นรังสีแพทย์ในแบบที่เราต้องการจะเป็น เราอยากสัมผัสคนไข้ เราอยากเป็นรังสีแพทย์ที่มีประโยชน์ เราเลือกเป้าหมายและทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ด้วยตัวเราเอง
บทความชุดนี้ ผมขอมอบให้กับคนหลายคนที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้ผมมาได้จนถึงจุดที่อยู่ปัจจุบันครับ พ่อแม่ น้อง ที่สนับสนุนทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทอง เวลา และกำลังใจ. อ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.จามรี เชื้อเพชรโสภณ รุ่นพี่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งทางวิชาการและการบริหารจัดการ. อ.วิทย์ วราวิทย์, อ.ชีวรัตน์ วิโรจน์ธนุกูล, พี่นัศวดี เพียงเจษฎา, บัณฑิต ตันติวงโกสีย์ ที่เป็นผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ตอนเริ่มคิด สอบ และส่งแรงให้ผมได้มาอยู่ตรงนี้