1. ทางเลือกในการเรียนต่อทางรังสีวิทยา
* ทำไมถึงจะเรียนรังสีวิทยา
* เรียนต่อ Resident เมืองไทย หรือ อเมริกา?
* เรียนต่อ Clinical Fellow, Research Fellow หรือ Observer? เมืองไทย หรือ อเมริกา?
2. การเตรียมตัวเพื่อเรียนต่อรังสีวิทยาในสหรัฐอเมริกา
* ตัดสินใจ และเตรียมพร้อม
* USMLE
3. การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อรังสีิวิทยาในสหรัฐอเมริกา
4. การสอบสัมภาษณ์และประกาศผล
5. การเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียนหลังจากได้รับการตอบรับแล้ว
* ชีวิตการเรียนในอเมริกา
* ชีวิตส่วนตัวในอเมริกา
6. แนะนำรุ่นพี่ตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ
7. พยายามแล้วไม่สำเร็จ ทำยังไง
พอตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่าอยากมาเรียนเป็น Clinical Fellow หรือ Resident แล้วก็ต้องเตรียมตัวครับ
ต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. เตรียมกาย - เรื่องสำคัญที่สุดของพวกเราที่จัดว่าเป็น foreign medical graduates ในการสมัครเรียนต่อโปรแกรมต่างๆในอเมริกาก็คือคะแนนสอบ USMLE ครับ เนื่องจากเป็นสิ่งเดียวที่โปรแกรมเขาถือว่ามาตรฐานครับ เกรดสมัยเรียนเป็นนักศึกษา/นิสิตแพทย์ เขาไม่ได้เอามาพิจารณามากครับเพราะบ้านเราก็ไม่ได้มี ranking standard ระหว่างสถาบันอะไร. ต้องเตรียมตัวสอบให้ได้คะแนนดีที่สุดที่สามารถทำได้ครับ สำคัญมากเนื่องจากถ้าผ่านแล้วจะไม่สามารถสอบ step นั้นๆ ใหม่ได้อีกในเวลา 7 ปีครับ แปลว่าถ้าคะแนนผ่านแต่ไม่ดีก็สอบซ่อมใหม่ไม่ได้นะครับ. อื่นๆ ที่ต้องเตรียมคือ ภาษาอังกฤษ เพื่อการสอบ USMLE ครับ
2. เตรียมเงิน - การสอบ USMLE ทั้ง 3 steps นั้นใช้เงินเยอะครับ ค่าสมัครสอบ ค่าบินไปสอบ step 2CS และอื่นๆ รวมๆ แล้วอย่างน้อยก็ 1-2 แสนบาทครับ ถ้าคิดว่าจะต้องไปติวเพื่อสอบอีกก็ต้องใช้เงินเพ่ิมครับ เพราะฉะนั้นควรเตรียมเงินสำรองไว้ด้วยครับ แต่ถามว่าคุ้มค่าไหม ก็คุ้มครับ เพราะมาเป็น clinical fellow หรือ resident ได้ 2-3 เดือนก็คุ้มทุนแล้วนะครับ
3. เตรียมเวลา - ควรหาเวลาว่างไว้อ่านหนังสือสอบ และติวครับ การสอบทั้ง 3 steps ใช้การเตรียมตัวนะครับ อย่างน้อยควรเตรียมตัวสอบแต่ละ step 4-6 เดือนล่วงหน้า ย้ำอีกทีนะครับว่าถ้าคิดจะสอบ ต้องให้ได้คะแนนดีๆ ครับ ถ้าไม่มั่นใจก็ควรจะเลื่อนวันสอบไปก่อน ไม่ควรไปสอบเพื่อแค่ให้ผ่าน. จากประสบการณ์ที่เห็นเพื่อนๆ หลายคน ก็ใช้เวลาประมาณ 1.5-2 ปีนะครับสำหรับการสอบให้ผ่านทั้ง 3 steps. มากสุดที่เขาอนุญาตก็ 7 ปีครับนับจากวันที่สอบ step แรกผ่านครับ.
4. เตรีียมใจ - เนื่องจากว่าต้องใช้ความตั้งใจสูงนะครับ การสอบ 3 steps ใช้เวลาและพลังงานมากจริงๆ ครับ โดยเฉพาะพวกเราชาวรังสีวิทยา ส่วนใหญ่ก็ทิ้งความรู้ basic science ไปหมดแล้ว และก็เหลือ clinical science อยู่ในสมองบ้างแต่ก็น้อยลงเยอะครับถ้าเทียบกับตอนเป็นแพทย์ใหม่ๆ อันนี้เป็นข้อเสียเปรียบของพวกเรานะครับ แต่อย่าลืมว่าถ้าตั้งใจ มุ่งมั่นก็จะทำได้ครับ. สิ่งที่ต้องคำนึงอีกนะครับ เมื่อสอบผ่านทั้ง 3 steps แล้วก็ยังต้องฝ่าด่านการสมัครเข้าเรียน การสอบสัมภาษณ์อีกครับ เพราะฉะนั้นความมุ่งมั่นนั้น สำคัญมากครับ
บทความถัดไปจะกล่าวถึงการสอบ USMLE ครับ
บทความชุดนี้ ผมขอมอบให้กับคนหลายคนที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้ผมมาได้จนถึงจุดที่อยู่ปัจจุบันครับ พ่อแม่ น้อง ที่สนับสนุนทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทอง เวลา และกำลังใจ. อ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.จามรี เชื้อเพชรโสภณ รุ่นพี่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งทางวิชาการและการบริหารจัดการ. อ.วิทย์ วราวิทย์, อ.ชีวรัตน์ วิโรจน์ธนุกูล, พี่นัศวดี เพียงเจษฎา, บัณฑิต ตันติวงโกสีย์ ที่เป็นผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ตอนเริ่มคิด สอบ และส่งแรงให้ผมได้มาอยู่ตรงนี้
January 5, 2009
Radiology Clinical Training in USA (2.1)
Posted by
Rathachai Kaewlai, M.D.
Labels:
Education/Training
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
3 comments:
ขอบคุณที่แนะนำนะครับ
ปล. จะคอยติดตามตอนต่อไปด้วยนะครับ
ขอบคุณนะค่ะ
ขอบคุณครับที่นำเสนอแง่มุมที่คนอื่นๆไม่ค่อยรู้
แล้วเวลาไปเรียนต่อสหรัฐต้องใช้คะแนน TOEFL เท่าไรหรือครับ
Post a Comment