June 12, 2008

Suspected Acute Appendicitis (4) - CT Techniques

ภาพ 1: แสดงให้เห็นภาพ scout abdomen CT. ขอบเขตที่จะทำการสแกนถูกเลือกจากภาพนี้ และขึ้นอยู่กับ protocol ของแต่ละ study ว่าจะครอบคลุมเท่าใด. ขอบสีเหลืองเป็น routine abdomen CT ที่ครอบคลุมทั้ง abdomen และ pelvis ส่วนขอบสีน้ำเงินเป็น appendicitis CT

ภาพ 2: แสดงให้เห็น test cut ที่ตำแหน่งของ cecum พบว่ามี rectal contrast อยู่ใน cecum แล้วจึงเริ่มทำการสแกนด้วยการใช้ IV contrast

มีวิีธีหลายแบบในการทำ abdomen CT เนื่องจากการปรับเปลี่ยนการให้ contrast (oral, IV, rectal), coverage และการสแกนใน phase ต่างๆ ของ contrast enhancement ใน solid organ ซึ่งถ้าไม่กล่าวถึงเฉพาะมักหมายถึง liver (early arterial, late arterial, portovenous, delayed)

การทำ CT ในการวินิจฉัย acute appendicitis ก็มีหลายแบบขึ้นกับสถาบัน และส่วนมากจะแตกต่างกันที่การเลือก contrast

  1. ใช้ทั้ง oral, rectal และ IV contrast
  2. ใช้เฉพาะ oral และ IV contrast
  3. ใช้เฉพาะ rectal และ IV contrast

ครั้งนี้จะขอกล่าวถึงวิธีที่ 3 (ใช้ rectal และ IV contrast) ซึ่งเป็น standard ที่ MGH ซึ่งเป็นวิธีที่มี sensitivity และ specificity สูงถึง 98% ในการวินิจฉัย และ exclude acute appendicitis

Appendiceal CT techniques (with rectal and IV contrast):
  • Coverage: superior border of L3 - superior pubic rami (เพื่อลด radiation dose ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมทั้ง whole abdomen)
  • Rectal contrast: diluted iodinated contrast 1L given via rectal tube
  • IV contrast: similar to other technique
  • Scan time: start at 120 seconds (ช้ากว่า abdomen CT ทั่วไปเนื่องจาก appendix enhance ช้ากว่าอวัยวะส่วนอื่น)
  • ไม่ให้ oral contrast เนื่องจากลดระยะเวลาการรอของผู้ป่วยเพื่อทำสแกน
  • ต้องทำ scout image ทีตำแหน่งของ cecum เพื่อดูว่า rectal contrast ไปถึง cecum หรือไม่ และจะเริ่มสแกนเมื่อ contrast ไปถึง cecum
  • ไม่ทำ noncontrast scan เนื่องจาก yield ต่ำที่จะให้ข้อมูลเพิ่ม และเพื่อลด radiation dose
References:
1. Rao PM, et al. Effect of computed tomography of the appendix on treatment of patients and use of hospital resources. N Engl J Med (Jan 1998)
2. Rhea JT, et al. The status of appendiceal CT in an urban medical center 5 years after its introduction: experience with 753 patients. AJR (Jun 2005)

No comments:

Post a Comment

ShareThis