

จาก CT ตรงนี้คงพอจะบอกได้คร่าวๆ ว่า lesion นั้นทำให้เกิด local brain edema มาก จนมี midline shift. ดูจากลักษณะของก้อนที่เป็น extra-axial, dense calcification และมี local hyperostosis ของ skull ก็น่าจะเป็น meningioma. ผู้ป่วยก็ได้รับการทำ MRI ต่อ

Pathological diagnosis: atypical meningioma (WHO grade II).
ตาม WHO classification of meningioma (2000), meningioma แบ่งเป็น 3 เกรด คือ I, II และ III. ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือ grade I ประมาณ 90%. Meningioma ส่วนใหญ่เป็น incidental finding ใน imaging study. ถ้ามีอาการมักมาด้วย seizure แบบในเคสตัวอย่างนี้. ลักษณะเฉพาะของ meningioma คือ extraaxial mass, solid homogeneous enhancement, hyperostosis อาจมี calcification และมี surrounding edema ได้มาก เช่นในผู้ป่วยรายนี้
ข้อควรรู้
- Edema-like changes รอบ meningioma เป็นได้จาก vasogenic edema รอบตัวก้อน และ cerebral gliosis เนื่องจากมี prolonged brain compression และอาจไม่หายไปหลังการผ่าตัดก็ได้
- Atypical meningioma เป็นคำบรรยายทาง pathology ที่ไม่จำเป็นต้อง correspond กับภาพ CT หรือ MRI
- ควรทำ MR venography ในกรณีที่ก้อนอยู่ใกล้กับ dural venous sinus เพื่อดูว่ามี narrowing หรือ occlusion ของ cerebral veins and sinuses ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อการวางแผนผ่าตัด
- Meningioma ที่ skull base และ sphenoid ridge มีโอกาส recurrent หลังการผ่าตัดบ่อยมากกว่าที่ convexity
Whittle IR, et al. Meningiomas. Lancet (May 2004)
No comments:
Post a Comment